วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2554

นำยาเอนกประสงค์

สูตรน้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์                                            ส่วน​ผสม 

  • N70 (หัวแชมพู)                     1     ​กิ​โลกรัม




  • F24 (สารขจัดคราบไขมัน)      1/2  ​กิ​โลกรัม




  • เกลือ​                                    1-1.5 ​กิ​โลกรัม                                                                                            วิธีทำ



    1. ต้มเกลือ​โดย​ใช้​น้ำ​ 2-3 ​ลิตร​ ​จนเกลือละลายหมด​ ​ตั้ง​ไว้​จนเย็น
    2. เอา​ N 7O ​ผสม​กับ​ F 24 ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​ราว​ 10 ​นาที
    3. ค่อยๆ​เทน้ำ​เกลือลงไปทีละน้อยๆ​ ​แล้ว​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนหมด
    4. หลัง​จาก​นั้น​ ​เติมน้ำ​ลงไป​และ​กวนเรื่อยๆ​ ​โดย​ใช้​น้ำ​ประมาณ​ 10-15 ​ลิตร​ ​ทั้ง​นี้​ให้​สังเกตว่า​ ​ความ​ข้นของน้ำ​ยาอเนกประสงค์​ ​หาก​ยัง​ข้น​หรือ​เหนียวมาก​ ​ก็​สามารถ​เติมน้ำ​เปล่า​ ​ลงไป​ได้​อีก​ ​จนเห็นว่า​ ​ได้​ความ​ข้นที่​เหมาะสม
    5. ใส่​หัวน้ำ​หอม​ ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​แล้ว​ตั้งทิ้ง​ไว้​จนฟองยุบ​(1 ​คืน) ​แล้ว​ตัก​ใส่​ขวดเอา​ไว้​ใช้                   สูตรเเชมพู                                                                                                                                   ส่วนผสม
      1 หัวแชมพู 8000 2 กก.
      2 ผงฟอง 1 ขีด
      3 ผงข้น 1 ขีด
      4 ลาโนลีน 1 ขีด
      5 กลิ่นคาโอ 1 ออนซ์
      6 ว่านหางจระเข้ 150 กรัม
      7 มะกรูด 150 กรัม
      8 สีเขียว ฟ้า 1 ห่อ
      9 น้ำกลั่น 2 ลิตร
      วิธีทำนำผงฟองเทผสมลงในน้ำ 1 ลิตร คนจนเป็นเนื้อเดียวกัน เติมหัวแชมพู คนให้เข้ากัน นำลาโนลีนมาละลายในน้ำร้อนแล้วเทลงในส่วนผสม คนให้เข้ากัน จากนั้นเติม กลิ่น สี ว่านหางจระเข้ มะกรูด คนให้เข้ากัน เสร็จแล้วค่อยๆเติมผงข้นลงไปในส่วนผสมโดยเติมไปคนไปจนข้นพอประมาณ ปล่อยทิ้งค้างคืนไว้ 1 คืนจึงนำไปบรรจุสูตรนำยาล้างห้องนำ                                                                 ส่วนผสม1.N70หรือหัวเชื้อ   1 กิโลกรัม
      2.F24หรือสารขจัดไขมัน  ครึ่งกิโลกรัม ถ้าไม่มีไม่ต้องก็ได้ครับ
      3.เกลือ ประมาณ ครึ่งกิโลกรัม ถึง1กิโลกรัม หรือ บางที่เรียกว่าผงข้น
      4.น้ำผลไม้รสเปรี้ยว (ที่โรงเรียนทำใช้มะกรูดต้มกับน้ำ)ประมาณ 4 ลิตร
      5.น้ำสะอาด ประมาณ7 ลิตร อันนี้แล้วแต่ความข้นครับหากยังข้นก็เติมได้อีกแต่ถ้ามากไปก็ใช้ไม่ได้บางที่ใช้น้ำขี้เถ้าผสมด้วย แต่ไม่มีก้ไม่ต้องครับ
      วิธีทำ
      เทN70กับF24ลงในภาชนะกวนไปในทิศทางเดียวกันให้เข้ากันจนเป็นครีมขาวๆจากนั้นเติมน้ำผลไม้ลงไปกวนไปเรื่อยๆหากไม่ข้นก็ค่อยๆเติมเกลือทีละน้อยสังเกตุดูหากข้นมากก็เติมน้ำลงไปสลับกันจนน้ำหมดทิ้งใว้ 1 คืนจนฟองยุบแล้วตักใส่ภาชนะใว้ใช้ ต้นทุนประมาณ 140 บาท ครับ ส่วนปริมาณที่ได้ก็ขึ้นอยู่กับว่าใช้น้ำไปเท่าใด

    ไม้ไผ่

     ไม้ไผ่กับวัฒนธรรม                         คนไทยมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รักธรรมชาติ ยิ้มแย้มแจ่มใสใจดี รักศิลปะ เสียงเพลงและดนตรี มีนิสัยอ่อนโยนอ่อนน้อมถ่อมตนและสามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดีมีภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่ใกล้มือในท้องถิ่นมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือใช้สอยในชีวิตประจำวันได้อย่างสวยงามโดยเฉพาะไม้ไผ่ เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มนุษย์นำมาใช้ประโยชน์โดยตรงหรือแปรรูปให้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการดำรงชีวิต คนไทยรู้จักคุ้นเคยและมีความผูกพันอย่างชนิดแยกไม่ออกมาตั้งแต่เกิดจนตาย กลายเป็นวัฒนธรรมสืบทอดกันต่อมา    "ไผ่" เป็นชื่อพันธุ์ไม้พวกหนึ่ง พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ กล่าวว่า ไผ่เป็นชื่อพรรณไม้พวกหนึ่ง ( Bambusa spp.) อยู่ในวงศ์ Graminese เป็นกอ ลำต้นสูง และเป็นปล้องๆ มีหลายชนิดมากกว่า ๑,๒๕๐ ขนิด ๕๐ ตระกูล เช่น ไผ่จีน ไผ่ป่า ไผ่สีสุก ไผ่เลี้ยง ไผ่ดำ เป็นต้น ไม้ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเฉพาะที่แปลกไปจากพืชและพันธุ์ไม้อื่นๆ เพราะแม้ว่าไผ่มีลักษณะที่ควรจะเป็นต้นไม้ แต่ไผ่กลับถูกจัดเป็นหญ้าประเภทหนึ่ง และเป็น "หญ้ายักษ์" เพราะลำต้นสูง กลวงเป็นปล้องๆ หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าใบไผ่คล้ายกับใบหญ้า ไผ่ขยายพันธุ์ด้วยการแตกหน่อ เพราะหนึ่งในร้อยปีไผ่จึงอาจจะออกดอกสักครั้ง และหลังจากออกดอกแล้วก็ตาย ไผ่จะเติบโตอย่างรวดเร็วและจะโตเต็มที่ภายในสองเดือน และจะคงขนาดเช่นนั้นไปตลอดชีวิตของมัน ลำต้นของไผ่จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๐.๗ - ๗ นิ้ว สูง ๑ - ๖๐ ฟุต ไผ่ขึ้นได้ทั้งในบริเวณที่มีอากาศอบอุ่นและอากาศเย็นต่ำกว่าศูนย์องศา ไผ่จึงเป็นไม้ที่มีมากในบริเวณเอเซียและแปซิฟิค อเมริกาใต้บางท้องถิ่น                                                         คุณลักษณะพิเศษของ "ไผ่"                                                                                                      ๑.ไผ่โตเร็วสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้ภายในเวลา ๑ - ๔ ปี และใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน ตั้งแต่รากไผ่เป็นสมุนไพรอย่างหนึ่งที่ใช้เป็นยารักษาโรคได้ หนิอไผ่หรือหน่อไม้ใช้ทำอาหาร กาบหรือใบไผ่ใช้ห่ออาหารหรือหมักปุ๋ย กิ่งและแขนงใช้ทำรั้ว ลำต้นใช้ประโยชน์ได้สารพัดอย่าง ตั้งแต่นำมาใช้ปลูกสร้างที่พักอาศัยและแปรรูปเป็นเครื่องจักสานและเครื่องมือเครื่องใช้นานาชนิดจนถึงนำมาใช้เกี่ยวกับความเชื่อและพิธีกรรมต่างๆ ตั้งแต่เกิดจนตาย
               คังนั้นชาวนาจึงมักปลูกไผ่ตามหัวไร่ปลายนา และปลูกไว้รอบๆบ้าน เพื่อใช้เป็นรั้วบ้านและป้องกันพายุ เพราะไม้ไผ่จะลู่ตามลมไม่หักโค่นเหมือนไม้อื่น หากปลูกไผ่ไว้ตามริมแม่น้ำลำคลอง จะช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำไม่ให้ดินพัวทะลายง่าย นอกจากนี้ไผ่ยังใช้เป็นอาหารในครัวเรือนได้ด้วย
                                                                      ๒. ไผ่มีลำต้นตรงและกลวงคล้ายหลอดและมีปล้องข้อคั่นเป็นปล้องๆ จึงใช้เป็นภาชนะประเภทกระบอก ถ้วย สำหรับใส่ของเหลว เช่นใช้เป็นกระบอกน้ำ กระบอกน้ำตาล ซึ่งใช้กันทั่วไปในหลายประเทศ ลักษณะพิเศษของไม้ไผ่นี้สามารถนำมาใช้สร้างอาคารที่พักอาศัยได้ โดยนำมาทำเป็นโครงสร้างของบ้านเรือน ใช้เป็นพื้นเรือน ฝาเรือน ใช้ทำรางน้ำ ท่อน้ำ และทำเครื่องดนตรีประเภทขลุ่ยได้ดีอีกด้วย                                                                                                                                                                         ๓. เนื้อไผ่เป็นเส้นตรงมีความยืดหยุ่นในตัวเองและสามารถคินตัวสู่สภาพเดิมได้ เมื่อนำไม้ไผ่มาแปรรูปก็จะสามารถใช้ประโยชน์ได้ดี เพราะเนื้อไม้ไผ่เป็นเส้นตรง นำมาจักเป็นปื้นบางๆ หรือเหลาเป็นเส้นได้ดี จึงใช้ทำเครื่องจักสานนานาชนิดได้ ทั้งเครื่องจักสานที่มีขนาดใหญ่ แข็งแรงมั่นคง สำหรับใช้งานหนักจนถึงเครื่องจักสานขนาดเล็กที่มีความปราณีตบอบบาง และเพราะคุณสมบัติในที่มีความยืดหยุ่น จึงเหมาะที่จะใช้เป็นเครื่องหาบหรือหาม เช่น คาน คันกระสุน คันธนูและเมื่อแปรรูปเป็นตอกก็ยังมีความยืดหยุ่นคืนรูปทรงเดิมได้ง่ายจึงทำให้ภาชนะจักสานที่ทำจากไผ่มีคุณลักษณะพิเศษต่างไปจากภาชนะที่ทำจากวัตถุดิบชนิดอื่น  
               ๔. ไม้ไผ่มีความสวยงามในตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นผิวที่มีสีต่างๆ กันเมื่อแห้งแล้วมักจะมีสีเหลืองอยู่เช่นนั้นตลอดไป ด้วยคุณสมบัติพิเศษนี้ ชาวเอเซียจึงใช้เหล็กหรือโลหะเผาไฟจนร้อนแล้วเขียนตัวอักษรหรือลวดลายลงบนผิวไม้ไผ่ ( Bamboo Pyrographic ) เช่นจีนจารึกบทกวีบนผิวไม้ไผ่ ชาวญี่ปุ่นใช้เขียนชื่อเจ้าของบ้านแขวนไว้หน้าบ้านและจารึกบทกวีแขวนไว้สองข้างประตูเรือนน้ำชา ( Tea House ) ชาวเกาหลีใช้เขียนเป็นลวดลายบนเครื่องใช้ เช่นเดียวกับที่ชาวบาตัก ( Batak) ในประเทศอินโดนีเซีย ใช้เหล็กเผาไฟ ขูด ขีด เขียน ลงบนกระบอกไม้ไผ่ สำหรับเก็บยาหรือทำเป็นปฏิทิน ในขณะที่ชาวบาหลีใช้จารลงบนผิวไผ่เป็นแผ่นๆ เพื่อใช้เป็นคัมภีร์ในศาสนาตน นอกจากไม้ไผ่จะมีผิวสวยแล้ว เนื้อไผ่ยังมีลักษณะพิเศษต่างจากเนื้อไม้อื่นคือ มีเสี้ยนยาวขนานกันเป็นเส้น จึงแปรรูปเป็นเส้น เป็นปื้น หรือเหลาให้กลมได้ง่าย และเมื่อแก่เต็มที่แล้วจะเป็นเส้นละเอียดแข็ง มอดแมลงไม่กินจนมีผู้กล่าวว่า เครื่องจักสานไม้ไผ่นั้น ผู้สานสามารถสานให้เป็นรูปทรงแปลกๆ แตกต่างกันได้มากมาย จนเครื่องจักสานบางชิ้นมีรูปทรงและผิวสวยงามดุจงานประติมากรรมสมัยใหม่                                                                       ประโยชน์                                                                                                                                                                                                  ไม้ไผ่ที่นำมาทำเป็นที่อยู่อาศัย คุณสมบัติพิเศษของไม้ไผ่ที่สามารถใช้ประโยชน์ได้โดยไม่ต้องแปรรูปและแปรรูป และเป็นไม้ที่มีความคงทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศได้ดี จึงมีการนำไม้ไผ่มาสร้างเป็นบ้านเรือนที่พักอาศัยกันทั่วไป เช่นเรือนไม้ไผ่ในประเทศไทยที่เรียกว่า "เรือนเครื่องผูก" ที่สร้างด้วยไม้ไผ่แทบทั้งหมด ตั้งแต่ใช้เป็นโครงสร้างและส่วนประกอบของบ้านเรือน ได้แก่ ใช้ลำไม้ไผ่เป็นเสา โครงหลังคา และใช้ไม้ไผ่แปรรูปด้วยการผ่าเป็นซีกๆ เป็นพื้นและสานเป็นแผงใช้เป็นฝาเรือน เป็นต้น
             ชาวชนบทที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีนักมักสร้างเครื่องเรือนผูกเป็นที่อยู่อาศัย เพราะสามารถสร้างได้เองโดยใช้ไม้ไผ่และวัสดุที่มีในท้องถิ่นของตนมาประกอบกันเป็นเรือนที่พักอาศัย รูปแบบของเรือนเครื่องผูกจะแตกต่างกันไปตามความนิยมของแต่ละท้องถิ่นโดยทั่วไปจะใช้ไม้ไผ่เป็นวัสดุหลักในการก่อสร้าง     การใช้ไม้ไผ่สร้างเป็นที่พักอาศัยนี้มีอยู่ทั่วไปในประเทศที่มีไม้ไผ่ ซึ่งอาจจะใช้ไม้ไผ่เป็นโครงสร้างของบ้านเรือนโดยตรงหรือใช้ประกอบกับวัสดุอื่น เฉพาะประเทศในเอเซียนั้นมีหลายท้องถิ่นที่ใช้ไม้ไผ่สร้างเป็นบ้านเรือน เช่น บ้านของชาวสุราเวสี (Surawesi ) และบ้านเรือนของชาวเกาะต่างๆ ในประทศอินโดนีเซียและมาเลเซีย นอกจากการใช้ไม้ไผ่สร้างที่อยู่อาศัยแล้วยังใช้ไม้ไผ่สร้างสะพาน ทำเป็นแพหรือลูกบวบเป็นที่พักอาศัยในแม่น้ำลำคลองด้วย และรวมทั้งการนำไม้ไผ่มาทำรั้วบ้าน ทำคอกวัว คอกควาย เล้าเป็ด เล้าไก่ ด้วยว่าไม้ไผ่เป็นสิ่งหาง่ายในท้องถิ่น  งานไม้ไผ่ที่ใช้เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในครัวเรือนและชีวิตประจำวัน งานไม้ไผ่ประเภทนี้มีความเกี่ยวเนื่องกับชีวิตมนุษย์มาช้านานและอาจจะเป็นเครื่องใช้ในครัวเรือนที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่ง เฉพาะอย่างยิ่งชาวตะวันออกนั้น มีเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยไม้ไผ่มาแต่โบราณ เช่น ตะเกียบไม้ไผ่ของจีน เป็นเครื่องมือการกินอาหารที่ทำอย่างง่ายๆ แต่ใช้ประโยชน์ได้อย่างดี ก่องข้าวและกระติบสำหรับใส่ข้าวเหนียวของชาวอีสานและชาวเหนือ เป็นตัวอย่างที่ดีซึ่งแสดงให้เห็นความชาญฉลาดในการนำไม้ไผ่มาแปรรูปเป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวเหนียวนึ่งได้ดีเท่าก่องข้าวและกระติบที่สานด้วยตอก   สรรพคุณ
               นอกจากนี้ยังใช้ทำเครื่องใช้สอยในครัวเรือน เช่นตะกร้า กระจาด สาแหรก กระบอกเป่าไฟ กระชอน ตะเกียบ ชะลอม ที่เสียบมีด กระบอกเก็บสาก ทัพพี ช้อน ตะหลิว ทำพัด ตับปิ้งปลา ทำฟืน ด้ามเครื่องมืออื่นๆ เครื่องจักสาน ของที่ระลึกเครื่องเขิน ทำโครงร่ม ไม้กวาด ใช้เป็นไม้ค้ำยันในการทำการเกษตร เช่นไม้ค้ำต้นส้ม ค้ำผัก ค้างถั่ว ฯลน ไม้ไผ่ยังใช้เป็นหลักปักกองฟาง ใช้ทำเข่งบรรจุผลไม้ บรรจุใบชา ของป่าต่างๆ ทำหุ่นหรือลูกบวบหนุนเรือนแพล่องไม้ไม่ให้จม บุ้งกี๋ กระพ้อม เสียม เสื่อลำแพน ทำท่อ ทำโต๊ะ เก้าอี้ และเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งภายในบ้าน

    ถ่านไม้มีสรรพคุณมากกว่าที่คิด ไม่ใช่แค่ดูดกลิ่นอับชื้น ยังสามารถนำมาใช้ในการดูแลสุขภาพได้หลากหลาย   โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ่านไม้ไผ่ที่เผาด้วยความร้อนสูง
    ถ่านไม้ไผ่จึงถูกนำไปใช้ทั้งในด้านการเกษตร การแพทย์ อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรม สิ่งทอ ฯลฯ ประโยชน์มากกว่าที่คิด
    สำหรับในชีวิตประจำวันถ่านไม้ไผ่สามารถใช้ตั้งแต่การรักษาสภาพแวดล้อมไปจนถึงการประกอบอาหาร การประทินผิวช่วยขจัดสารตกค้างในร่างกาย คุณสมบัติการดูดซับกลิ่นและความชื้น และปล่อยประจุลบ (มีผลในการฟอกอากาศให้บริสุทธิ์สดชื่นขึ้น)ของถ่านไม้ไผ่   เหมาะสำหรับวางก้อนถ่านไว้ในตู้เสื้อผ้า ห้องครัวห้องน้ำ  ตู้เก็บของหรือกล่องรองเท้า วางในรถยนต์ก็ได้   รวมทั้งวางดูดก๊าซพิษที่ระเหยมาจากสีทาบ้านหรือโพลี่บอร์ดในอาคารหรือห้องที่เพิ่งตกแต่งใหม่ได้ด้วย การปล่อยประจุลบของถ่านไม้ไผ่ยังช่วยแก้มลภาวะในน้ำเสีย ท่อระบายน้ำที่ปล่อยน้ำซักผ้าและกลิ่นเน่า ถ่านไม้ไผ่จะดูดซับคลอรีนและสารมีพิษภายในน้ำดื่มและให้แร่ธาตุตามธรรมชาติที่กล่าวถึงข้างต้นมากขึ้นด้วย ในการหุงข้าว ถ่านไม้ไผ่ช่วยดูดกลิ่นคลอรีนออกจากน้ำ ดูดซับจุลินทรีย์และสารพิษในข้าว เพิ่มแร่ธาตุให้ข้าวหุงสุก ทำให้รสชาติดี คุณสมบัติในการดูดซับสารพิษ เพิ่มประจุลบซึ่งกระตุ้นระบบการไหลเวียนโลหิตในร่างกายคนได้ ถ่านไม้ไผ่ จึงมีผลในการขับสารเคมีตามผิวหนัง ผิวหนังจึงนุ่มชุ่มชื้นสะอาดและอบอุ่น
    ถ่านไม้ไผ่ยังช่วยดูดซับคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งรั่วซึมจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เตาอบและเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ ด้วย 

    ลองทำได้เองที่บ้าน
    1.ถ่านไม้ไผ่ในแจกัน ถ่านไม้ไผ่จะช่วยให้ดอกไม้สดในแจกันอยู่คงทนยาวนานขึ้น เพราะถ่านไม้ไผ่รักษาระดับความชื้นและฟอกอากาศให้น้ำเน่าเสียช้าลง (ด้วยคุณสมบัติของการปล่อยประจุลบ) รวมทั้งแร่ธาตุในถ่านจะช่วยยืดอายุของต้นไม้ด้วย ในกรณีกระถางดินปลูกต้นไม้การโรยผงถ่านรอบๆโคนต้นจะช่วยเพิ่มแร่ธาตุในดิน ต้นไม้จะโตเร็ว
    2.อาบสวยด้วยถ่าน นำถ่านบดหรือก้อนเล็กๆ ปริมาณ 300 กรัมหรือมากกว่าเล็กน้อยใส่ถุงผ้าตาข่าย เอาไปวางในอ่างอาบน้ำ ก่อนเปิดน้ำร้อนสำหรับแช่อาบ เมื่ออาบเสร็จนำถุงถ่านไปตากแห้งและเก็บไว้ใช้ได้อีกนานสองเดือนสำหรับถ่านหนึ่งถุง วิธีการนี้ถ่านไม้ไผ่จะช่วยให้ความอบอุ่นร่างกาย ทำความสะอาดและรักษาความชุ่มชื้นของผิวหนัง และยังช่วยขจัดกลิ่นอับหรือกลิ่นคลอรีนได้ด้วย
    3.ทำน้ำแร่ คุณสามารถทำน้ำแร่ไว้ดื่มเองได้ จากการใช้ถ่านไม้ไผ่ก้อนขนาดพอเหมาะล้างให้สะอาด โดยไม่ใช้สารเคมีหรือผงซักฟอกใดๆ นำถ่านไปต้มกับน้ำดื่มสะอาดด้วยไฟอ่อนๆ 10 นาที ตักถ่านออกตากแห้ง แล้วนำถ่านนั้นชั่งน้ำหนักให้ได้ 100 กรัมเติมลงในน้ำดื่มสะอาด 1 ลิตร ตั้งทิ้งไว้สักสองสามชั่วโมง ก็จะได้น้ำแร่สะอาดไว้ดื่ม ถ่านต้ม(และตากแห้ง)หนึ่งก้อนสามารถใช้ได้หนึ่งเดือน แต่ควรต้มซ้ำสัปดาห์ละครั้งเพื่อผลสูงสุด
     4.ล้างผัก ล้างผักให้สะอาดแล้วนำผงถ่านบด 1 ช้อนชาผสมน้ำ 5 ลิตร แช่ผักหรือผลไม้ไว้ 15-20 นาที จากนั้นล้างผักผลไม้ด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง ถ่านจะช่วยดูดซับสารเคมีตกค้างในพืชผัก
     5.เยียวยาร่างกาย มีวิธีการใช้ถ่านไม้ไผ่เพื่อเยียวยาร่างกายดังนี้ -ปากเหม็น ให้ผสมถ่านกับน้ำดื่ม -คลื่นไส้อาเจียน มีแก๊สในกระเพาะอาหาร ให้ผสมผงถ่านสะอาดลงในน้ำเปล่าหนึ่งแก้ว คนให้เข้ากันแล้วดื่ม แต่คนท้องผูกไม่ควรดื่มเพราะจะทำให้อาการหนักขึ้น -ผื่นแพ้ คันผิวหนัง ใช้ถ่านแช่น้ำอาบ -เจ็บคอ ผสมถ่านกับน้ำพอเหนียวปั้นเป็นก้อนกลมๆ อมไว้ 5 นาทีแล้วกลืนช้าๆ -กินยาเกินขนาด ใช้ถ่านแก้พิษ รับประทานถ่านผสมน้ำปั้นเป็นก้อน 10-20 เม็ด ดื่มน้ำตามมากๆ การใช้ถ่านเยียวยาร่างกายนี้ต้องใช้ทันทีเมื่อเกิดอาการหรือหลังเกิดอาการโดยเร็วที่สุด เพื่อประสิทธิผลเต็มที่http://www.google.co.th